การทำเป้าหมายในองค์กรให้มองเห็น
คนเรานั้นใช้จิตใจและภาพลักษณ์ในการมองสิ่งต่างๆ ภาพที่ผ่านเข้ามาทางประสาทตาของคนเรานั้นจะถูกสมองตีความ แล้วให้ความหมายในแนวทางที่สอดคล้องกับบุคลิกและมุมมองของแต่ละคน การทำให้มองเห็นเป็นการกระตุ้นสมองซีกขวา กล่าวคือ สมองซีกขวาใช้สำหรับจินตนาการ และ สมองซีกซ้ายใช้สำหรับตรรกะ ดังนั้นการค้นพบหรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ หรือความสำเร็จ เรามักจะนึกถึงภาพจากสมองซีกขวา ตัวอย่างเช่น ไทเกอร์ วูดส์ ก่อนที่จะตีลูกกอล์ฟ เขามักจะเห็นภาพของลูกกอล์ฟลงหลุมก่อนซะอีก อัจฉริยะบุคคลนั้นไม่ต้องคิดต้องทำอะไรมาก ก็สามารถสร้างจินตนาการขึ้นมาเองได้ แต่สำหรับคนธรรมดา การทำให้มองเห็นนั้นนับเป็นกรรมวิธีที่สำคัญยิ่งในการสร้าง “หน้างานที่มีแรงกระตุ้น” สำหรับการกำหนดเป้าหมายที่ถูกต้องนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็น ประเด็นสำคัญของเป้าหมายคือต้องมีความชัดเจนของเป้าหมายและมีกำหนดเวลาในการบรรลุ จึงจะสามารถเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้
การทำเป้าหมายในองค์กรให้มองเห็นนั้น ก่อนอื่นที่สำคัญเราต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ถูกต้องก่อน โดยเป้าหมายนั้นเชื่อมโยงกับเป้าหมายของผู้บังคับบัญชาระดับที่สูงขึ้นไป มีสมดุลที่เหมาะสมระหว่างเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว เมื่อมีเป้าหมายที่ดีแล้วต่อมาจึงควรนำข้อมูลสถานะของเป้าหมายนั้นไปแสดงให้ให้ผู้ปฏิบัติงานได้เห็นอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ทราบถึงความคืบหน้าและเกิดแรงกระตุ้นในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาถึงผลลัพธ์ตามเป้าหมาย เช่น สมมุติเป้าหมายของบริษัทแห่งหนึ่งตั้งไว้ว่าในปีนี้บริษัทจะมียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเป้าหมายนี้ของบริษัทจะสอดคล้องกับเป้าหมายของพนักงานทุกคนก็คือการได้โบนัสที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป้าหมายนี้เป็นที่สนใจของพนักงานทุกคนหากองค์สามารถนำเสนอข้อมูลสถานะผลลัพธ์ของเป้าหมายแบบ Realtime ได้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งหากเวลาผ่านไปไม่ว่าจะกี่วัน กี่เดือน หากถ้าแนวโน้มเป้าหมายจะไม่บรรลุผล พนักงานก็จะได้มีโอกาสทราบก่อนจะถึงสิ้นปีและอาจจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นในการปฏิบัติงานและความร่วมแรงร่วมใจกัน
สำหรับเทคนิคการทำเป้าหมายในองค์กรให้มองเห็น ก็สุดแล้วแต่แต่ละองค์กรจะคิดค้นขึ้นมา อาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมากนักโดยติดตั้งบอร์ดแสดงไว้ที่ตำแหน่งที่พนักงานทุกคนสามารถมองเห็นก็ได้ื แต่สำหรับผมก็มีไอเดียเริ่มต้นอยู่แล้วในใจ แต่ยังไม่ตกตะกอน ซึ่งหากไอเดียพร้อมแล้วจะกลับมาเขียนแชร์ให้ดูกันในบทความหน้าครับ :)
ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ : การทำให้มองเห็น (Visualization)